CARROT FARM

タスク1


LANGUAGE LEARNING

               สวัสดีค่าา หลังจากที่เราได้รู้จักกับสมาชิกวงกันไปแล้ว เริ่มจำสมาชิกกันได้บ้างรึยังเอ่ยยย หรือมีใครเลือกเมนได้แล้วบ้างคะะ
               จากในบล็อกที่แล้ว เราได้แนะนำสมาชิกทั้ง 13 คนในวงไปแล้ว คิดว่าหลายคนอาจจะสังเกตุเห็นบ้างแล้วว่า สมาชิกในวงนั้น นอกจากชาวเกาหลีใต้แล้ว ยังมีสมาชิกต่างชาติอยู่ด้วย นั่นก็คือ "โจชัวและเวอร์นอน" สัญชาติอเมริกา  "จุนและดิเอท"สัญชาติจีนนั่่นเอง
              แต่ถึงแม้ว่าสมาชิกเหล่านั้นจะไม่ได้มีสัญชาติเกาหลี แต่ก็สามารถร้องเพลงและพูดภาษาเกาหลีได้ค่อนข้างชัดทีเดียว รวมถึงยังสามารถพูดภาษาตามสัญชาติของตัวเองได้อย่างคล่องแคล่วด้วย เป็นเพราะอะไรกันนะะ

                คำตอบก็คืออ พวกเขาเหล่าได้มาเป็นเด็กฝึกเพื่อเป็นไอดอลในประเทศเกาหลีตั้งแต่ยังเด็กนั่นเองค่ะ  และมีโอกาสได้เรียนรู้ภาษาเกาหลี ที่เป็นภาษาที่สองในช่วงอายุที่จะสามารถเรียนภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเองค่ะ

ดูกันออกไหมคะว่าใครเป็นใคร 5555

                 โดยในคาบ App Jap Ling เราก็ได้เรียนกันเรื่องช่วงอายุที่สามารถเรียนภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับเจ้าของภาษา หรือที่ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า 臨界期 「りんかいき」นั่นเองค่ะ

                 臨界期 หรือช่วงอายุที่สามารถเรียนภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น  จากการศึกของสถาบัน MIT ในสหรัฐอเมริกา พบว่าช่วงอายุที่สามารถจะเรียนภาษาที่สองให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนอาจเทียบเท่ากับเจ้าของภาษานั้นคือ " ช่วงอายุ 10 ขวบ " ค่ะ โดยประสิทธิภาพในการเรียนนั้นก็จะแปรผกผันกับอายุ กล่าวคือ ยิ่งอายุเพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพในการเรียนภาษาก็จะยิ่งลดลงค่ะ และเมื่อถึงอายุ 18 ปี แม้ว่าจะยังสามารถเรียนรู้ภาษาใหม่ได้ไว แต่จะไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับช่วงอายุที่น้อยกว่านี้ค่ะ
               
                 บางงานวิจัยยังกล่าวว่าช่วงอายุ 12-15 ปี เป็นช่วงที่เหมาะกับการเรียนภาษาที่สุด เนื่องจากเป็นช่วงที่ทักษะการคิดวิเคราะห์ แยกแยะต่าง ๆ ได้พัฒนาเต็มที่แล้ว หากอายุเกินกว่านี้ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพจากการเริ่มเข้าสู่่วัยเจริญพันธุ์ ทำให้ไม่สามารถเรียนภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่ากับช่วงอายุดังกล่าวค่ะ
               
                 ถึงแม้จะยังไม่สามารถยืนยันได้ถึงช่วงอายุที่แน่นอนได้ แต่หลายงานวิจัยมีผลการศึกษาไปในทางงเดียวกันว่าเมื่อถึงช่วงอายุ 10 ขวบแล้ว ยิ่งอายุเพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพในการเรียนภาษาที่สองก็จะยิ่งลดลง  อีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลมากก็คือ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม และความแตกต่างระหว่างภาษาแม่และภาษาที่สองค่ะ
                

                เนื่องจากค่าย Pledis นั้นมีการจัดทำรายการเรียลลิตี้โชว์ 17TV  เพื่อหาสมาชิกที่จะมาเดบิวต์เป็นวง SEVENTEEN ค่ะ  โดยช่วงที่สมาชิกแต่ละคนมีอายุเฉลี่ยรวมกันทุกคนแล้วประมาณ 17 ปีค่ะ โดยทั้งจุน ดิเอทมีอายุประมาณ 16-17 ปี ในตอนที่เข้าร่วมรายการ จึงสามารถใช้ภาษาเกาหลีได้อย่างคล่องแคล่ว
               ส่วนโจชัวและเวอร์นอนนั้น แม้โจชัวจะมีอายุถึง 18 ปีแล้วและก่อนหน้านี้อาศัยในอเมริกาและใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก แต่ก็มีพ่อแม่เป็นชาวเกาหลี  ส่วนเวอร์นอนนั้นเป็นลูกครึ่ง เกาหลี-อเมริกัน จึงได้เรียนรู้ทั้งสองภาษาต่อเนื่องมาตั้งแต่เด็กจึงทำให้ทั้งสองคนสามารถเรียนรู้และใช้ภาษาทั้งสองได้เป็นอย่างดีค่ะ

               สำหรับใครที่สงสัยว่า ภาษาแม่คืออะไร ภาษาแแม่ก็คือภาษาแรกที่เราใช้ได้อย่างคล่องแคล่วแบบเจ้าของภาษาค่ะ ภาษาที่สองก็คือภาษาที่เราเรียนรู้ต่อมาจากภาษาแม่ โดยมีความแตกต่างคือ



母語/第一言語 (ภาษาแม่/ภาษาที่หนึ่ง)


第二言語   (ภาษาท่ี่สอง)

1. ไม่มีการเรียนรู้ภาษาอื่นมาก่อน


1. มีการเรียนรู้ภาษาอื่นมาก่อนแล้ว (ภาษาแม่) 

2.  ผู้ที่เรียนภาษาแม่จะสามารถใช้ได้แบบเจ้าของภาษาทุกคน


2. ไม่ทุกคนที่จะสามารถเรียนจนใช้ได้แบบเจ้าของภาษา

3. ไม่มีการใช้ภาษาผิดที่ติดแน่น(สามารถแก้ไขได้)


 3. มีการใช้ภาษาบางจุดที่แก้ไม่ได้ เช่น การออกเสียงผิด

4. การภาษาผิดพลาดเล็กน้อย โดยทั่วไปจะไม่มีค่อยได้รับการแก้ไข


 4. มีการใช้ภาษาที่ผิด ผู้เรียนภาษาที่สองจะถูกบอกกล่าวให้แก้ไข

5. motivation แรงจูงใจ ปัจจัยแวดล้อม จะไม่ค่อยมีผลต่อการเรียนภาษา


5. motivation หรือปัจจัยแวดล้อม จะมีผลต่อการเรียนภาษา

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง

母語       ぼご          ภาษาแม่
第一言語     だいいちげんご     ภาษาที่ 1 (เรียกอีกอย่างคือภาษาแม่)
第二言語     だいにげんご         ภาษาที่ 2

                   ส่วนพวกเรา แม้จะมาเรียนภาษาญี่ปุ่นกันในตอนที่ดูเหมือนจะเกินช่วงอายุที่จะสามารถเรียนรู้และใช้ภาษาได้แบบเจ้าของภาษาตามที่นักวิชาการหลาย ๆ ท่านบอกไปแล้ว  แต่เราก็ยังสามารถเรียนรู้เพื่อให้ใช้ภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพตามความจำเป็น ทั้งเพื่อทำงานหาเงิน ดูซีรีส์ ตามติ่ง และเล่นเกมได้อยู่นะคะ มาพยายามไปด้วยกันนะคะะ   🔥✌😆✌🔥
     

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น