- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
タスク2 ว้าวซ่า นี่หรือคือเคโกะ
เนื่องจากในสัปดาห์ที่ผ่านมา
ได้มีการเชิญอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่นจากประเทศญี่ปุ่นโดยตรง
มาสอนไวยากรณ์ให้กับพวกเราในคาบ App
Jap Ling ด้วย ครั้งนี้ก็เลยจะขอพักการขายเซเว่นทีนไปก่อนค่ะะ โดยเรื่องที่อาจารย์นำมาสอนในครั้งนี้น่าสนใจมาก นั่นก็คืออออ เรื่อง รูปสุภาพ หรือ 敬語 นั่นเอง
หลายคนอาจคิดว่า
เอ่อ...มันก็เป็นเรื่องที่เราเรียนกันมาหลายครั้งแล้วนี่คะ ตื่นเต้นตรงไหน!?
ใช่ค่ะ ตอนเราเห็นหัวข้อที่อาจารย์จะเอามาสอน
สารภาพว่ามีแว้บนึง แว้บเดียวจริง ๆ ค่ะ ที่เราคิดอย่างนั้นเหมือนกัน เรื่องที่ว่า 敬語 นั้นแบ่งเป็น 尊敬形 (รูปสุภาพเชิงยกย่อง) 謙譲形 (รูปสุภาพเชิงถ่อมตน) การเติม おและごไว้หน้าคำ และการใช้ です/ますนั้น
เราเรียนกันมาหมดแล้วตั้งแต่สมัยม.ปลาย เข้ามหาลัยมาก็เรียนซ้ำอีกรอบนึงแล้ว
ตอนที่ทำแบบฝึกหัดแรก ก็คิดว่าแค่ให้แยกประเภทคำว่าเป็น 尊敬形 หรือ 謙譲形 น่ะ นาทีเดียวก็ทำเสร็จแล้ว
พออาจารย์ถามว่า แล้วทั้งสองรูปนี้มีการใช้งานที่ต่างกันไปยังไง
เราก็ตอบ (ในใจ) ไปอย่างมั่นใจเลยว่า
รูปยกย่องใช้กับคนที่สูงกว่าเรา
(ในที่นี้ไม่ใช่ขนาดตัวนะคะ 55555) เช่น อาจารย์ หัวหน้า
รูปถ่อมตน
ก็เอาไว้ใช้ในกรณีที่พูดถึงการกระทำของตัวเองเพื่อกดตัวเองลงมา หรือใช้เมื่อพูดถึงการกระทำของคนที่เป็นคนใน
ตามแนวความคิดเรื่อง 「うち・そと」เช่น
เวลาที่พูดถึงประธานบริษัทของเรากับบุคคลภายนอกบริษัท เป็นต้น
แต่ทว่า!!! นั่นเป็นเพียงหลักการจำ เพื่อให้เราสามารถนำไปใช้งานได้อย่างถูกต้องเท่านั้น
อันที่จริงแล้วหากจะอธิบายแบบเป็นหลักเป็นการแล้วล่ะก็ การจะเลือกใช้รูปยกย่อง หรือรูปถ่อมตนนั้น ไม่ได้ดูว่าผู้กระทำกริยาเป็นใคร มีตำแหน่งอะไร เป็นหลักในการเลือกใช้ แต่ดูว่า “ผู้ที่เราจะแสดงความเคารพนั้นอยู่ในบทบาทใด” ค่ะ อมก ซับซ้อนกว่าที่เราเรียนมากเลยนะนี่
อันที่จริงแล้วหากจะอธิบายแบบเป็นหลักเป็นการแล้วล่ะก็ การจะเลือกใช้รูปยกย่อง หรือรูปถ่อมตนนั้น ไม่ได้ดูว่าผู้กระทำกริยาเป็นใคร มีตำแหน่งอะไร เป็นหลักในการเลือกใช้ แต่ดูว่า “ผู้ที่เราจะแสดงความเคารพนั้นอยู่ในบทบาทใด” ค่ะ อมก ซับซ้อนกว่าที่เราเรียนมากเลยนะนี่
โดยอาจารย์ได้อธิบายไว้ว่า
" หากผู้ที่เราต้องการแสดงความเคารพเป็นผู้ที่ กระทำกริยานั้น
ให้ใช้ 尊敬形(そんけいけい) รูปสุภาพเชิงยกย่อง "
ตย 1
田中先生、明日、大学にいらっしゃいますか。
อาจารย์ทะนะกะคะ พรุ่งนี้จะมาที่มหาลัยไหมคะ
ตย 2 A: すみません、明日、田中先生は大学にいらっしゃいますか。
B: はい、いらっしゃいます。
A: ขอโทษค่ะพรุ่งนี้อาจารย์ทะนะกะจะมาที่มหาลัยไหมคะ
B: ค่ะ มาค่ะ
ในตัวอย่างทั้งสองนี้ ผู้ที่ กระทำ กริยา “ไป”
คืออาจารย์ทะนะกะ ซึ่งเป็นผู้ที่เราต้องการให้ความเคารพ ในตัวอย่างทั้งสองนี้ 来ますจึงถูกเปลี่ยนเป็น いらっしゃいます ค่ะ
" หากผู้ที่เราต้องการแสดงความเคารพเป็นผู้ที่
ได้รับผลจากการกระทำกริยานั้น ให้ใช้ 謙譲形(けんじょうけい) รูปสุภาพเชิงถ่อมตน"
ตย 3 先生、お持ちしましょうか
อาจารย์คะ หนูช่วยถือไหมคะ
ตย 4 この本は田中先生に貸していただきました。
หนังสือเล่มนี้อาจารย์ทะนะกะให้ยืมมา
ในตัวอย่างที่ 3 นั้น ผู้กระทำกริยา ถือ เป็นตัวเรา แต่ผู้ที่ ได้รับ ผลของการกระทำนั้นคือผู้ที่เราต้องการแสดงความเคารพ คืออาจารย์ ส่วนในตัวอย่างที่ 4 แม้ว่าเราจะเป็นผู้ที่ได้รับหนังสือ ดูยังไงเราก็เป็นผู้ที่ได้รับผลนี่นา การใช้ いただきます แฝงความรู้สึกขอบคุณไว้ ผู้ที่ ได้รับ ผลของการกระทำ(ความรู้สึกขอบคุณ) คืออาจารย์ทะนะกะ หากเปรียบเทียบแล้ว ก็เหมือนกับการที่เราพูดว่า いただきます ตอนทานข้าว ในที่นี้เราแฝงความรู้สึกขอบคุณไปให้ผู้ที่ทำอาหารให้เราด้วย ในกรณีเช่นนี้จึงใช้ 謙譲形 นั่นเอง
ในตัวอย่างที่ 3 นั้น ผู้กระทำกริยา ถือ เป็นตัวเรา แต่ผู้ที่ ได้รับ ผลของการกระทำนั้นคือผู้ที่เราต้องการแสดงความเคารพ คืออาจารย์ ส่วนในตัวอย่างที่ 4 แม้ว่าเราจะเป็นผู้ที่ได้รับหนังสือ ดูยังไงเราก็เป็นผู้ที่ได้รับผลนี่นา การใช้ いただきます แฝงความรู้สึกขอบคุณไว้ ผู้ที่ ได้รับ ผลของการกระทำ(ความรู้สึกขอบคุณ) คืออาจารย์ทะนะกะ หากเปรียบเทียบแล้ว ก็เหมือนกับการที่เราพูดว่า いただきます ตอนทานข้าว ในที่นี้เราแฝงความรู้สึกขอบคุณไปให้ผู้ที่ทำอาหารให้เราด้วย ในกรณีเช่นนี้จึงใช้ 謙譲形 นั่นเอง
ทั้งนี้ทั้งนั้น เราเลือกได้เองว่าเราจะใช้รูปยกย่อง ถ่อมตน ตอนไหน
ดังนั้นแม้จะคุยอยู่กับอาจารย์ แต่บางกระทำไม่จำเป็นต้องใช้รูปยกย่อง
ถ่อมตนก็ไม่ต้องใช้ก็ได้ です/ます
ต่างหากที่จำเป็น
เพราะการใช้รูปยกย่องและถ่อมตนนั้น เป็น 素材敬語(そざいけいご) หรือรูปภาษาสุภาพที่ให้ความสำคัญกับผู้ที่อยู่ในเนื้อหาเป็นหลัก
ในขณะที่การใช้ です /ます หรือที่เรียกว่า 丁寧形(ていねいけい) เป็น 対者敬語 (たいしゃけいご) รูปภาษาสุภาพที่ให้ความสำคัญกับผู้ที่สนทนาด้วยเป็นหลักนั่นเองค่ะ
ดังภาพนี้เลยยย
ดังนั้นเมื่อเราคุยกับอาจารย์ แม้บางครั้งจะไม่ใช้รูปยกย่อง
ถ่อมตน แต่ก็จำเป็นที่จะต้องลงท้ายประโยคด้วย です/ます เสมอ
และเมื่อเราคุยกับเพื่อน แม้ว่าจะคุยกันเกี่ยวกับอาจารย์ และมีการใช้รูปยกย่อง
ถ่อมตนก็ไม่จำเป็นต้องลงท้ายประโยคด้วยです/ます
เช่น 友だち:明日、田中先生も大学にいらっしゃるの?
私:うん、来るんだって。
เพื่อน: พรุ่งนี้ อาจารย์ทะนะกะก็จะมาที่มหาลัยหรอ
ฉัน:อื้ม เห็นบอกว่าจะมานะ
อันนี้เป็นประกาศการจัดโปรเจ็ควันเกิดให้กับน้องดีโน่ ซึ่งเกิดวันที่
11 กุมภาพันธ์นี้ค่ะ
โดยสมาชิก CARAT สามารถส่งอวยพรข้อความวันเกิดไปให้กับน้องดีโน่ได้ และน้องอาจจะตอบกลับข้อความมาให้ค่ะ
เนื่องจากเป็นข้อความนี้เป็นข้อความที่สตาฟต้องการสื่อสารกับกะรัตซึ่งถือเป็นคนสำคัญ(ของหนุ่ม
ๆ เซเว่นทีน >///<) โดยมีทั้งที่กะรัตก็เป็นผู้กระทำกริยา
และบางครั้งเป็นผู้ที่ได้รับผลจากการกระทำกริยา ในนี้เราจึงเจอ การใช้ทั้ง 尊敬形 และ 謙譲形 ค่ะ
尊敬形 (รูปสุภาพเชิงยกย่อง)
尊敬形 (รูปสุภาพเชิงยกย่อง)
お送りください おおくりください กรุณาส่ง
กะรัตเป็นผู้กระทำกริยา 送ります (ส่ง)
ตรงนี้สตาฟที่ต้องการจะแสดงถึงความเคารพจึงใช้尊敬形ค่ะ
募集いたします ぼしゅういたします จะรวบรวม
お待ちしております おまちしております รออยู่
ทั้งสองคำเป็นการกระทำของสตาฟที่กะรัตจะได้รับผลจากการกระทำกริยา ทั้ง 募集する(รวบรวม) และ 待っています (รออยู่) ตรงนี้จึงใช้謙譲形 ค่ะ
นอกจากนี้ยังมีการใช้ 美化語 ด้วย นั่นก็คือการเติม お/ご ลงไปด้วย ในคำว่า お誕生日(วันเกิด) และ ご確認(การตรวจสอบ) นั่นเองค่ะะ
จบไปแล้วค่ะ สำหรับเนื้อหาสาระของการเขียนบล็อก(+แอบขายเซ้บ)ในครั้งนี้
ถึงช่วงเม้ามอย คือเราชอบคาบนี้มาก อาจารย์สอนสนุก และมีเนื้อหาที่เราว้าวหลายเรื่องเลย อย่างเรื่องที่หยิบมาเขียนครั้งนี้อ่ะ เราไม่เคยมองการใช้ 尊敬語 กับ 謙譲語ในมุมนี้มาก่อน ที่ผ่านมาเหมือนจำเป็นแพทเทิร์นมาตลอด ถ้าเจอแบบนี้ ให้เปลี่ยนเป็นแบบนี้ อะไรงี้ อันที่จริงไม่รู้ชื่อภาษาญี่ปุ่นของมันอย่างจริง ๆ จัง ๆ ด้วย ก็เลยเรียกรวมว่า เคโกะ มาตลอด คาบนี้เลยสนุกมาก อาจจะเพราะได้ร้องเพลง なごり雪 ด้วย 555555 อันนี้แถม ถ้าฟังไม่ผิดอาจารย์บอกว่าเพลงนี้ดังมากจนทำให้คำว่า なごり雪 ถูกบันทึกเป็นคำในพจนานุกรมด้วย ว้าวซ่า
เพื่อน ๆ ถ้าใครมีโอกาสก็ลองสร้างคำขึ้นมา เผื่อคำที่เธอคิดจะดังแล้วได้ไปอยู่บนพจนานุกรมบ้าง เราจะรอซื้อพจนานุกรมมาเปิดให้ลูกดูอย่างภาคภูมิใจนะ เริ้บ 💛💛
ความคิดเห็น
เขียนได้สนุกจัง ดึงประเด็นที่ตัวเองสนใจออกมาขยายได้เข้าใจง่ายมากค่ะ แล้วเพลงนี้ なごり雪 พอจะสู้ เซเว่นทีนของหนูได้บ้างสักนิดไหมคะ 555 (รู้คำตอบแล้วหล่ะ ไม่ได้...ชัวร์)
ตอบลบ