- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
สวัสดีค่ะทุกคน ก่อนอื่น ขอแสดงความยินดีกับทุกคนด้วยที่ผ่านสัปดาห์โชกเลือดกันมาได้แล้ว เย้~~ เสาร์อาทิตย์นี้เราเหมือนเป็นแครอทเปื่อยที่ได้รับน้ำฝนหลังจากผ่านฤดูแล้งมาอย่างยาวนานทีเดียว วันนี้ก็เลยได้ฤกษ์งามยามดีอีกวันที่เราจะกลับมาอัพบล็อค วันนี้เรามีสิ่งที่ติดอยู่ในใจและอยากจะเอามานำเสนอให้ทุกคนได้รู้จักกัน จากอาทิตย์ที่แล้ว ๆๆ เราได้เรียนเรื่องการใช้ 外来語 (がいらいご)คำที่มาจากต่างประเทศหรือคำทับศัพท์ เพื่อให้ดูทันสมัย เก๋ไก๋ไฮโซไป แล้วชอบเรื่องนี้มาก เลยอยากมานำเสนอทุกคนให้รู้จักสิ่งนี้ด้วยกันค่ะ
ก่อนอื่นเรามารู้จักสัญชาติของคำในภาษาญี่ปุ่นกันก่อนค่ะ
ในภาษาญี่ปุ่นจะมีการแบ่งประเภทของคำตามเชื้อสายเรียกว่า 語種(ごしゅ) โดยสามารถแบ่งได้ 4 ประเภท คือ
1. 和語(わご)คำญี่ปุ่นแท้
คำญี่ปุ่นแท้ในที่นี้ยังรวมไปถึงคำที่มาจากภาษาไอนุด้วย โดยจะมีลักษณะสำคัญคือ
1) พยางค์แรกไม่ใช่เสียงขุ่น
2) พยางค์แรกไม่ขึ้นต้นด้วยวรรค ラ
3) ไม่มีเสียงจังหวะพิเศษ 特殊拍(とくしゅはく)ก็คือคำที่มีการลากเสียงยาว長音(ちょうおん) เสียงกัก (っ)促音(そくおん)เสียงตัวん撥音(はつおん)และเสียงควบ 拗音(ようおん)
เช่น いえ、つめ、くち、こころ
2. 漢語(かんご)คำจีน
มีลักษณะเด่นคือ เขียนเป็นตัวคันจิได้ และมีเสียงอ่านเป็น 音読み(おんよみ)
เช่น 台風(たいふう)、椅子(いす)
หากเป็นภาษาจีนที่สร้างโดยคนญี่ปุ่น จะเรียกว่า 和製漢語(わせいかんご)
เช่น 哲学(てつがく)、悲劇(ひげき)
รวมถึงมีคำจีนบางคำที่ไม่นิยมเขียนด้วยตัวอักษรแบบจีน เนื่องจากไม่ใช่ตัวอักษรที่ใช้กันตามปกติ
เช่น ラーメン(拉麺)、ギョウーザ(餃子)
3. 外来語(がいらいご)คำจากภาษาต่างประเทศ
เป็นคำจากภาษาต่างประเทศประเทศอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ประเทศจีน โดยมากเข้ามาในสมัยที่ชาวยุโรปเข้ามาเผยแผ่ศาสนาในประเทศญี่ปุ่น จะเขียนคำด้วยอักษรカタカナเป็นส่วนใหญ่
เช่น イクラ(รัสเซีย)ไข่ปลาแซลม่อน、コップ(ดัช)แก้ว、 パクチー (ไทย) ผักชี
อย่างไรก็ตาม 外来語 บางคำมีรูปเขียนเป็นอักษรจีนด้วย เนื่องจากเข้ามาในสมัยเมจิ-โชวะ ที่นิยมใช้ตัวอักษรจีน
เช่น 倶楽部(クラブ)ชมรม、硝子(がらす)กระจก
นอกจากนี้ยังมีคำภาษาอังกฤษที่สร้างโดยคนญี่ปุ่นขึ้นมาเอง โดยอาศัยพื้นฐานจากภาษาต่างประเทศด้วย เรียกว่า 和製英語(わせいえいご)
เช่น サラリーマン มนุษย์เงินเดือน (คำนี้คือเราลืมไปแล้วว่าจริง ๆ มันไม่มีในภาษาอังกฤษ 5555)、OL(オーエル)สาวพนักงานออฟฟิศ、コスプレคอสเพลย์、フリーター คนที่ทำงานพาร์ทไทม์เลี้ยงชีพ
4. 混種語(こんしゅご)คำรวมมิตร
เป็นคำที่มีการผสมหลายสัญชาติไว้ในคำเดียวกัน
เช่น 消しゴム(和語+外来語)
抹茶オレ(漢語+外来語)
ワールド杯(外来語+漢語)เวิร์ลคัพ
จะเห็นได้ว่าภาษาญี่ปุ่นมีสัญชาติของคำหลากหลายพอ ๆ กับประเทศไทยเลยทีเดียว 外来語 เองก็เริ่มมีมากขึ้น อย่างคำว่า ผักชี เองก็เพิ่งเป็นคำที่ไปฮิตในญี่ปุ่นตอนที่มีกระแสผักชีฟีเวอร์ในญี่ปุ่น ทำให้คำว่าผักชี กลายเป็นคำที่รู้จักทั่วไปในประเทศญี่ปุ่น โดยมากจะเป็นคำที่ไม่สามารถหาคำญี่ปุ่นมาแทนให้ได้ความหมายครอบคลุมหรือแทนไม่ได้ก็จะมีการใช้คำนั้นทับลงไปเลย แต่ก็มีบางกรณีที่เราจพบการใช้ 外来語 เพื่อความกิ๊บเก๋อยู่บ่อย ๆ เช่น ตามนิตยาสาร โฆษณา เพื่อให้มีภาพลักษณ์ที่ดูสบาย ๆ ทันสมัยค่ะ
แต่ถ้าเกิดว่ามีการใช้ 外来語 มากเกินไปล่ะจะเกิดอะไรขึ้น !?
.
.
คำตอบก็คือ จากที่ดูดีก็จะมีโอกาสที่จะโดนฟ้องได้ค่ะ !!
คุณทนายยังเสริมอีกว่า “ ถึงแม้การใช้ภาษาต่างประเทศแบบผิด ๆ จะพบได้ในสิ่งทั่วไปก็ตาม แต่สำหรับ NHK มันมีผลต่อสาธารณะมากกว่า และในครั้งนี้ก็อยากจะสื่อถึงคนในสังคมว่าให้คิดถึงวัฒนธรรมความเป็นญี่ปุ่นที่มีมากันมากขึ้นด้วย ” นัยนึงก็คือฟ้องเพื่อให้ทุกคนได้หันกลับมาคิดถึงการใช้ 外来語 ให้มากขึ้น เพื่อไม่ให้มีการใช้แบบพร่ำเพรื่อเกินไปนั่นล่ะค่ะ
เมื่อมีบทความเกี่ยวกับการฟ้องร้องนี้เผยแพร่ไป ก็ได้มีการแสดงความคิดเห็นจากคนในอินเทอร์เน็ตกันมากมาย ทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการฟ้องร้องในครั้งนี้
เห็นด้วย |
คนที่เห็นด้วย ก็จะมีการแสดงความเห็นประมาณว่า “ถ้าหาคำที่ตรงคอนเซ็ปต์ครอบคลุมความหมายไม่ได้เลยล่ะก็ จะใช้ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้ามีคำที่แปลเป็นภาษาญี่ปุ่นได้แล้วยังจะดั้นด้นไปเขียนเป็นตัวคะตะคะนะน่ะ ก็อาจนับว่าเป็นการที่ทำลายภาษาแม่เลยก็ว่าได้ และถึงคำจะไม่ตรงคอนเซ็ปต์ แต่ก็อยากให้ลองคิดเอาตัวจีนมาใช้ เหมือนกับที่ทำในสมัยเมจิแทนที่จะใช้ตัวคะตะคะนะดีกว่า”
และมีทั้งคนที่ให้ความเห็นเกี่ยวกับช่อง NHK ประมาณว่า “ NHK ซึ่งเป็นช่องที่สาธารณะได้รับการเงินสนับสนุนจากประชาชน(ต้องจ่ายเงินเพื่อดู) ก็ควรที่จะทำให้ทุกคนสามารถเข้าใจข่าวได้เท่าเทียมกัน ”
ไม่เห็นด้วย |
ส่วนคนที่ไม่เห็นด้วย ก็บอกว่า “ คิดให้ดี ๆ แล้ว คันจิก็เป็นตัวอักษรต่างประเทศเหมือนกัน เสียงองโยมิก็เป็นภาษาต่างประเทศไม่ใช่หรอ เอาภาษาอังกฤษมาทำเป็นตัวจีน ก็เป็นการเอาภาษาต่างประเทศมาทำเป็นภาต่างประเทศอยู่ดีนั่นแหละ ไม่งั้นก็ทำให้คิดแปลงเป็นภาษาอังกฤษแบบญี่ปุ่น (和製英語)เอาก็ได้ แล้วก็อยากให้ใช้คำนั้นด้วยความรู้สึกเหมือนคำนี้เป็นของเราจริง ๆ จนเจ้าของภาษาดั้งเดิมต้องมาเรียนรู้มันซะเลย ”
หรือบางคนก็ให้ความเห็นว่า “ คำที่NHK ใช้มันก็ดูเข้าใจได้อยู่แล้ว ถ้าไม่รู้ก็ต้องจำเอาไว้เป็นความรู้ไม่ใช่หรอ แล้วที่จะให้มาเปลี่ยนเป็นภาษาญี่ปุ่นน่ะก็ไม่เห็นด้วยเลย อย่าง コンテンツ=情報内容มันก็ไม่ตรงอย่างเห็นได้ชัดอยู่แล้ว การจะเอา 情報内容 มาใช้กับ หนังหรือดนตรีน่ะ คนทั่วไปเขาใช้กันซะที่ไหน,,,”
ในส่วนของสถาบันวิจัยภาษาแห่งชาติ (国立国語研究所)ที่ทำเรื่อง 外来語 ก็ได้มีการจัดการเสนอคำที่มาใช้แทนคำจากภาษาต่างประเทศอยู่แล้ว แต่ว่าก็ไม่ใช่ทุกคำที่จะสามารถใช้ภาษาญี่ปุ่นแล้วสื่อความหมายได้อย่างถูกต้อง คำที่ไม่สามารถแปลให้ออกมาได้เป็นธรรมชาติหรือแปลแล้วเข้าใจยากก็มีมากเช่นกัน
ที่มาของข่าว : https://www.huffingtonpost.jp/2013/06/27/nhk_n_3513859.html สามารถไปอ่านความเห็นเพิ่มเติมได้ค่ะ
.
.
.
หลังจากอ่านเรื่องนี้จบแล้วเพื่อน ๆ มีความเห็นกันอย่างไรบ้างคะ
สำหรับเราแล้วหลังอ่านเราก็พอเข้าใจทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่โดยส่วนตัวแล้วเราเห็นด้วยกับการฟ้องร้องครั้งนี้ค่ะ เราเข้าใจว่าเขาไม่ได้จะฟ้องร้องเพราะโกรธแค้นอะไรทางช่อง เพียงแต่หากฟ้องร้องก็มีโอกาสจะเป็นข่าว และคนจะสนใจประเด็นการใช้คำนี้มากกว่าช่องท่องทางอื่น สื่ออีกหลายสำนักก็จะได้มีการคิดไตร่ตรองให้ดีก่อนเวลาจะนำเสนอข่าวอะไรในครั้งต่อ ๆ ไป ในกรณีนี้ก็คือได้เงินด้วย เริ่ดมาก
ในส่วนที่เราเห็นด้วยกับการฟ้องร้องครั้งนี้ก็คือ จากที่อ่านดูแล้ว NHK ก็มีการใช้คำจากต่างประเทศเยอะจริง และหลาย ๆ คำก็เป็นคำที่เข้าใจได้ยาก แม้แต่เราเองที่อาจนับได้ว่าเป็นคนรุ่นใหม่และมีโอกาสได้ใช้ สัมผัสภาษาอังกฤษมามากกว่าคนรุ่นก่อนยังไม่สามารถเข้าใจได้เลย อย่างคำว่า 「コンシェルジュ」ที่มาจาก “ concierge ” ถ้าเราไม่เปิดพจนานุกรม เราก็จะไม่รู้เลยว่าคำนี้แปลว่า “คนเฝ้าประตู” แล้วคนสูงวัยบางคนที่อาจไม่ค่อยได้พบเจอภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันล่ะ จะสับสนขนาดไหน เจอทีละคำยังพอว่า แต่ถ้าเป็นคำภาษาต่างประเทศออกมาติด ๆ กันหลาย ๆ คำเข้า ก็อาจจะจับใจความเนื้อหาไม่ทันและไม่เข้าใจสิ่งที่จะนำเสนอมาเลยก็ได้
หรือบางคำเช่นคำว่า ケア care หรือ リスク risk ก็ดูเป็นคำที่สามารถหาคำหรือประโยคภาษาญี่ปุ่นมาแทนได้ไม่ยาก แต่ทาง NHK ที่เป็นสื่อสาธารณะ (แถมต้องเสียเงินดูด้วย) และควรจะหาวิธีที่จะทำให้ทุกคนเข้าใจได้เหมือนกันกลับเลือกใช้คำจากต่างประเทศ เราก็ว่าออกจะใจร้ายกับคนสูงอายุไปหน่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศญี่ปุ่นที่มีจำนวนประชากรผู้สูงอายุเป็นอันดับหนึ่งของโลกในตอนนี้ ถ้าเป็นประเทศไทยแล้วเวลาอ่านข่าวผู้ประกาศข่าวใช้คำว่า risk แทนคำว่า “ความเสี่ยง” เราก็คงรู้สึกขัด ๆ อยู่บ้างเหมือนกัน
ส่วนที่เข้าใจคนที่ไม่เห็นด้วยก็คือ คำบางคำอย่าง コンテンツ ก็คงหาคำมาแทนที่เหมาะสมไม่ได้จริง ๆ เพราะคำแบบนี้ใช้กันอย่างแพร่หลาย ใช้บ่อยจนกลายเป็นคำปกติไปแล้ว อย่างคนไทยเองก็ใช้คำว่า คอนเทนต์ เหมือนกัน ถึงจะแย้งว่าเราใช้คำว่า “เนื้อหา” แทนลงไปได้ แต่ส่วนตัวแล้วมันมีความหมายแฝงที่แตกต่างออกไปนิดหน่อย คือเป็นเนื้อหาที่ถูกเขียนขึ้นให้มีความน่าสนใจดึงดูดผู้บริโภค ถ้าใช้คำว่า “เนื้อหา” เฉย ๆ จะไม่มีความหมายเหล่านั้นแฝงอยู่ เป็นต้น ถ้าคำอย่างนี้เราว่าก็ทับภาษาอังกฤษไปได้ ในความคิดเราถ้ากลัวคนไม่เข้าใจจริง ๆ ก็อาจจะขึ้นแปลเหมือนซับข้างล่างจอทีวีก็ได้ ผู้ฟังจะได้พอตีความตามบริบทได้
พอมาคิดดูแล้ว การเลือกใช้คำจากต่างประเทศก็ต้องดูด้วยว่าผู้ที่นำเสนอเป็นสื่อที่มีกลุ่มเป้าหมายหรือผู้บริโภคหลักเป็นใคร ถ้าเป็นข่าว ก็ควรที่จะเลือกใช้คำที่เข้าใจได้ทุกเพศทุกวัย หรือถ้ากลุ่มเป้าหมายเป็นหนุ่มสาว วัยรุ่น เช่น นิตยาสาร โฆษณา ต่าง ๆ เราว่าการใช้ภาษาต่างประเทศหรือตัวคะตะกะนะก็ทำให้ดูสบายตา และเนื้อหาดูผ่อนคลายลงมากทีเดียว โดยเฉพาะถ้าเป็นนิตยาสารแฟชั่น ความสวยงามต่าง ๆ ใช้แล้วก็ดูกิ๊บเก๋ทันสมัยขึ้นมาจริง ๆ ด้วย ถึงแม้ว่าแปลออกมาแล้วจะเข้าใจความหมายได้เหมือนกัน แต่สิ่งที่แฝงมาในคำย่อมต่างออกไปแน่นอน
ตัวอย่างของความต่างจากการเลือกใช้คำคำคนละสัญชาติแล้วทำให้ความรู้สึกต่างกันก็คือ 「愛の手紙」 กับ 「ラブレター 」 ถ้าเป็น ラブレター ที่จะให้ภาพลักษณ์ของหนุ่มสาววัยใสสารภาพรักกัน ส่วน 愛の手紙 จะให้ภาพที่ดูจริงจังดูโตกว่า ラブレター แม้ว่าทั้งสองคำจะมีความหมายว่า จดหมายรัก💌 เหมือนกันก็ตามค่ะ
เมื่อลองเอาไปเสิร์ชในกูเกิ้ลดูจะเห็นว่าผลการเสิร์ชของ 愛の手紙 จะค่อนข้างต่างจากเมื่อเสิร์ชว่า ラブレター ค่ะ
愛の手紙 |
ラブレター |
ผลการค้นหาแสดงให้เห็นว่าในขณะที่ 愛の手紙 จะให้ภาพเป็นจดหมายรักสมัยตวัดพู่กัน เป็นตัวพิมพ์หรือเป็นหนังสือ แต่ ラブレター กลับเป็นจดหมายลายมือขยุกขยิกสีสันสดใสตามแบบสาวน้อยวัยละอ่อนค่ะ
ดังนั้นถ้าจะให้สรุปวิธีการใช้ 外来語 ให้ดูฉลาด ก็คือ " ใช้อย่างชาญฉลาดให้เหมาะสม พอดีกับสถานการณ์และบริบท " นั่นเองค่ะ
อยากเขียนラブレター ขึ้นมาเลยค่ะ T T |
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ความคิดเห็น
https://www.huffingtonpost.jp/2013/06/27/nhk_n_3513859.html
ตอบลบこの記事読みました、面白いですね。僕の意見としてはこの人と同じですね。
"日本語に限らず殆どの言語は外来語を受け入れ、定着していくものだし、完全に融合したピジン・クレオール言語も数多い。片端からカタカナ語を否定するのは無意味(ナンセンスと言ってもいい)だし、有意義な程度の使用は積極的に行うべき。特に限られた状況で使われ、海外の情勢にも大きく関わる専門用語についてはカタカナ語の割合が多くなるのも妥当だろう。
ただ、一般的に使われる言葉についてはやはり出来るだけ翻訳を心がけて欲しいのも事実。例えばインフォームド・コンセントに対する適切な訳語は早い段階で作って置くべきだったろう。病院の受診者は老若男女様々で、直感的に分かりやすい言葉の使用が適切だろうから。"
言葉というのはあくまで伝えることを目的にしているので、外来語を使いすぎたり、逆に変な訳語を作ったりして意味がわからなくなったら本末転倒です。ですので、「適度に使う」ことが大事ですね。
でも実は日本語は外来語が比較的少ない言語です、今度これについての記事を書きますね。
การใช้ 外来語 เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงมิได้แล้ว เห็นด้วยตามที่ carrot farm เขียนคือ จำเป็นต้องใช้อย่างเหมาะสม การบัญญัติคำเพื่อใช้ในสังคม(ตามค.เห็นของคุณ Nozomi ด้านบน) ก็เป็นวิธีแก้ไขได้อย่างหนึ่ง ที่สำคัญคือเราควรรู้ว่าเรากำลังใช้ในบริบทใด ผู้ฟังคือใคร (กรณี NHK ถ้ารู้ว่าคนฟังส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ก็ควรลดปริมาณการใช้หรือใช้คำอื่นทดแทน) การนำเรื่องของ NHK ขึ้นมาเปิดประเด็นให้ผู้อ่านคิดและเสริมด้วยความเห็นและข้อมูล ทำให้บทความนี้อ่านสนุกและน่าติดตามมากค่ะ (แถมจบด้วยคำว่า love letter ตรง concept (อ้าว 外来語 อีกละ) ของ blog นี้ด้วยอีกต่างหาก)
ตอบลบน้องแสวเห็นเพลง J-POP หรือ อนิซองสมัยนี้ส่วนใหญ่ ชอบตั้งว่า ラブレター กันทั้งนั้นเลยค่ะ ทั้งๆที่จริงๆแล้ว ภาษาญี่ปุ่นก็มีคำว่า 恋文 ที่แปลว่าจดหมายรักเหมือนกัน แต่กลายเป็นว่าสมัยนี้แทบไม่ค่อยเจอแล้ว xD 外来語นี่กลายเป็นส่วนหนึ่งของภาษาญี่ปุ่นปัจจุบันไปแล้วจิงๆ
ตอบลบเป็นอะไรที่ へぇมากๆเลยค่ะ มีการโดนฟ้องเพราะใช้ 外来語 มากเกินไปด้วย เขียนละเอียดแต่ในขณะเดียวกันก็อ่านเข้าใจง่าย ชอบมาก ขอสมัครเป็นแฟนคลับค่ะ!
ตอบลบ//เหลือบมองคอมเม้นพี่ยะมะดะ (สู้ๆนะคะ)
เพิ่งรู้ว่ามีการฟ้องร้องกันในเรื่องแบบนี้ด้วย ยิ่งใหญ่มากค่ะ ส่วนตัวเราเองไม่ใช่คนที่มีปัญหาอะไรกับการใช้คำทับศัพท์ เพราะเราเองก็ใช้เยอะเหมือนกัน แต่กรณีของจดหมายรักน่าสนใจมากค่ะ ทำให้รู้เลยว่าถึงแม้ความหมายจะเหมือนกัน แต่ภาพที่ได้มันต่างกัน
ตอบลบปังมาก へえ สุดๆ พึ่งรู้ว่ามีการถูกฟ้องจากการใช้ 外来語 ด้วย เนื้อหาอ่านง่ายมาก และละเอียดมาก !
ตอบลบ